การวัดด้านพุทธิพิสัย
(Cognitive
Domain)
การจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้
Bloom (1956) และคณะ ได้จำแนกการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
Bloom (1956) และคณะ ได้จำแนกการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2.
ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
3.
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
ด้านพุทธิพิสัย
เป็นความสามารถทางสมอง หรือความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาหลักการหรือทฤษฎีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านนี้สามารถวัดได้จากการให้ผู้เรียนแจกแจงความรู้ด้านพุทธิพิสัยแบ่งไว้
6 ขั้น
ซึ่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป
ต้องอาศัยระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่าเสมอ
ระดับพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
|
ตัวอย่างคำกิริยาที่ใช้
|
1. ความรู้ ความจำ ความสามารถในการจดจำสิ่งที่เรียนมาแล้วอาจเป็นข้อมูลง่าย
ๆ จนถึงทฤษฎี
|
จัดทำรายการ
ระบุ บอก พรรณนา บอกชื่อ แสดง ติดป้ายบอก รวบรวม ตรวจ จัดทำตาราง จดบันทึก เลือก
|
2. ความเข้าใจ
ความสามารถในการจับใจความการแปลความหมาย การสรุป หรือขยายความ
|
สรุป อธิบาย
อภิปราย เชื่อมโยง ประมาณ ทำนาย พยากรณ์ พรรณนา ตีความ บอกความแตกต่าง
เรียบเรียง เปลี่ยน
|
3. การนำไปใช้
ความสามารถในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
|
ใช้ สาธิต คำนวณ
ทดลอง แสดงให้ดู แก้ปัญหา ตรวจสอบ ปรับ ทำให้สมบูรณ์ เปลี่ยนแปลง จัดประเภท
เปลี่ยนแปลง ติดตั้ง ถ่ายโอน สร้าง
|
4. การวิเคราะห์
ความสามารถในการแยกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อยเหล่านั้นได้
|
วิเคราะห์
เขียนโครงร่าง แยกแยะ จัดลำดับ เปรียบเทียบ เชื่อมโยง พาดพิง แบ่ง บอกเหตุผล
|
5. การสังเคราะห์
ความสามารถในการรวบรวมส่วนย่อย ๆ
เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
|
ผนวก รวบรวม
บูรณาการ ต่อรอง จัดเรียงใหม่ แทนที่ วางแผน ประดิษฐ์ สร้างสูตร ออกแบบ แก้ไขเขียนใหม่ ประดิษฐ์ วางหลักการ
|
6. การประเมิน
ความสามารถในการวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
โดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
|
ประเมิน
ตัดสินใจ จัดอันดับ ให้ระดับ ทดสอบ วัด สรุป วิจารณ์ ชังจูง ปกป้อง ตัดสิน
ลงความคิดเห็น วิจารณ์
|
ตัวอย่างแบบทดสอบ
1.
พฤติกรรมด้านความรู้-ความจำ
“พระปิยมหาราช” คือกษัตริย์รัชกาลใด
“พระปิยมหาราช” คือกษัตริย์รัชกาลใด
ก.
รัชกาลที่ 3 ข. รัชกาลที่ 4
ค.
รัชการที่ 5 ง. รัชกาลที่ 6 ตอบ ค.
2.
พฤติกรรมด้านความเข้าใจ
เหงือกปลาทำหน้าที่คล้ายกับอวัยวะส่วนใดของคน
ก.
หู ข. จมูก
ค.
ฟัน ง. ปาก ตอบ ข.
3.
พฤติกรรมด้านการนำไปใช้
เหตุใดการเจาะกระป๋องนม
ต้องเจาะ 2 รู ตรงข้ามกัน
ก.
ให้อากาศดันนมให้ไหลเร็วขึ้น ข. ให้อากาศภายในถ่ายเทได้สะดวก
ค.
ประหยัดเวลาเมื่อเทนมลงในแก้ว ง.
ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ตอบ ก.
4.
พฤติกรรมด้านการวิเคราะห์
“ครูเป็นปูชนียบุคล”
คำกล่าวนี้แสดงว่าผู้พูดยึดหลักข้อใด
ก.
ความภูมิใจ ข.
ความยำเกรง
ค.
ความมีอำนาจ ง.
ความเคารพ ตอบ ง.
5.
พฤติกรรมด้านการสังเคราะห์
“แดงสูงกว่าดำ
แต่เตี้ยกว่าเขียว เหลืองเตี้ยกว่าขาว แต่สูงกว่าแดง” สรุปใครเตี้ยที่สุด
ก.
ดำ ข.
เหลือง
ค.
แดง ง. เขียว ตอบ ก.
6.
พฤติกรรมด้านการประเมินค่า
ตามประเพณีไทย
ถือว่านางวันทองเป็นคนดีหรือไม่
ก.
ดี เพราะรักสามีทั้งสองคน ข.
ดี เพราะเมื่อตายแล้วยังเป็นห่วงลูก
ค.
ไม่ดี เพราะมีสามีสองคน ง.
ไม่ดี เพราะหูเบาเชื่อคนง่าย ตอบ ค.